สเปคเครื่องสำหรับวินโดวส์วิสต้า
เก็บไว้ในบุ๊คมาร์คมานาน ไม่ได้อ่านสักที วันนี้นั่งเคลียร์บุ๊คมาร์คขณะรอคอมพ์อีกเครื่องคำนวณงาน เลยได้อ่่านบทความนี้ในที่สุด เขาบอกว่าสิ่งที่วิสต้าแตกต่างจากวินโดวส์รุ่นเดิมๆ มากที่สุดก็คือการแสดงผล เพราะจะเปลี่ยนวิธีการสร้างภาพออกหน้าจอ จากเดิมที่เป็นแบบบิตแมปไปเป็นแบบเวคเตอร์ 3D และจะย้ายงานการประมวลภาพส่วนใหญ่ไปที่หน่วยประมวลผลกราฟฟิค หรือ จีพียู แทน วิธีนี้ทำให้ลดภาระการทำงานของหน่วยประมวลกลางไปได้มาก และผู้ใช้ยังสามารถย่อหรือขยายภาพได้อย่างอิสระ โดยไม่สูญเสียคุณภาพเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะใช้วิสต้าละก็ เลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องซื้อการ์ดแสดงผลดีๆ มาใช้ด้วย เขายังบอกอีกว่า การ์ดแสดงผล 3D ในปัจจุบันรุ่นทั่วไปก็ใช้ได้แล้ว ไม่ต้องถึงกับเป็นรุ่นท็อปสุด แต่ก็ควรจะเป็น พีซีไออี เอ็ก ๑๖ เพราะ เอจีพี ไม่อาจให้แบนด์วิธท์มากพอได้ และควรมีหน่วยความจำ ๑๒๘ เมกกะไบต์ ถึงจะดี และจะยิ่งเยี่ยมถ้ามีถึง ๒๕๖ เมกกะไบต์ ไม่ใช่น้อยๆ เลยนะนี่
ในส่วนฮาร์ดดิสก์ก็ควรจะใช้ซีเรียลเอทีเอ ๒ ซึ่งมีฟังก์ชัน เนทีฟคอมมานด์คิวอิ่ง ที่ทำให้ตัวไดร์ฟสามารถจัดเรียงลำดับงานใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ถ้างานที่ ๒ สำคัญกว่า ก็ไม่จำเป็นต้องรอให้งานที่ ๑ เสร็จก่อน ตัวไดร์ฟสามารถเปลี่ยนมาทำงานที่ ๒ ได้ทันที ซึ่งเป็นเทคนิคใกล้เคียงกับที่ใช้อยู่ในไดร์ฟแบบ สกัซซี่ ในปัจจุบัน
ในส่วนของหน่วยประมวลผลกลาง วินโดวส์วิสต้าสนับสนุนการทำงานแบบมัลติเธรดอย่างสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นการใช้ซีพียูแบบดูอัลคอร์ก็จะแสดงผลเต็มๆ กันคราวนี้แหล่ะ แต่ในบทความไม่ยักกะบอกว่าต้องใช้สเป็คซีพียูขนาดเท่าไหร่ คงเพราะเดี๋ยวนี้เลิกวัดประสิทธิภาพของซีพียูด้วยความเร็วสัญญาณนาฬิกาไปแล้ว เลยไม่รู้จะอ้างอิงอะไรดี
สุดท้ายคือเรื่องหน่วยความจำหลัก หากยังใช้กับซีพียู ๓๒ บิตอยู่ หน่วยความจำขนาด ๕๑๒ เมกกะไบต์ก็ยังพอไหว แต่ถ้าใช้กับ ๖๔ บิตแล้วละก็ ควรจะใช้ขนาด ๒ กิกกะไบต์ ดีดีอาร์๓ เนื่องจากเมื่อเป็น ๖๔ บิตแล้ว ขนาดข้อมูลก็ต้องใหญ่เป็นสองเท่าด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในบางระบบเช่น โน๊ตบุ๊ค อาจไม่สามารถยัดฮาร์ดแวร์ขนาดนี้เข้าไปได้ วิสต้าจึงมีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบเก่าที่คล้ายวินโดวส์เอ็กซ์พีมาให้เลือกใช้เช่นกัน แต่ถ้าอยากสัมผัส แอโร กลาส ส่วนติดต่อผู้ใช้ตัวใหม่ของวิสต้า ก็คงต้องยอมเสียตังค์ยกเครื่องกันใหม่ซะแล้ว
ในส่วนฮาร์ดดิสก์ก็ควรจะใช้ซีเรียลเอทีเอ ๒ ซึ่งมีฟังก์ชัน เนทีฟคอมมานด์คิวอิ่ง ที่ทำให้ตัวไดร์ฟสามารถจัดเรียงลำดับงานใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ถ้างานที่ ๒ สำคัญกว่า ก็ไม่จำเป็นต้องรอให้งานที่ ๑ เสร็จก่อน ตัวไดร์ฟสามารถเปลี่ยนมาทำงานที่ ๒ ได้ทันที ซึ่งเป็นเทคนิคใกล้เคียงกับที่ใช้อยู่ในไดร์ฟแบบ สกัซซี่ ในปัจจุบัน
ในส่วนของหน่วยประมวลผลกลาง วินโดวส์วิสต้าสนับสนุนการทำงานแบบมัลติเธรดอย่างสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นการใช้ซีพียูแบบดูอัลคอร์ก็จะแสดงผลเต็มๆ กันคราวนี้แหล่ะ แต่ในบทความไม่ยักกะบอกว่าต้องใช้สเป็คซีพียูขนาดเท่าไหร่ คงเพราะเดี๋ยวนี้เลิกวัดประสิทธิภาพของซีพียูด้วยความเร็วสัญญาณนาฬิกาไปแล้ว เลยไม่รู้จะอ้างอิงอะไรดี
สุดท้ายคือเรื่องหน่วยความจำหลัก หากยังใช้กับซีพียู ๓๒ บิตอยู่ หน่วยความจำขนาด ๕๑๒ เมกกะไบต์ก็ยังพอไหว แต่ถ้าใช้กับ ๖๔ บิตแล้วละก็ ควรจะใช้ขนาด ๒ กิกกะไบต์ ดีดีอาร์๓ เนื่องจากเมื่อเป็น ๖๔ บิตแล้ว ขนาดข้อมูลก็ต้องใหญ่เป็นสองเท่าด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในบางระบบเช่น โน๊ตบุ๊ค อาจไม่สามารถยัดฮาร์ดแวร์ขนาดนี้เข้าไปได้ วิสต้าจึงมีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบเก่าที่คล้ายวินโดวส์เอ็กซ์พีมาให้เลือกใช้เช่นกัน แต่ถ้าอยากสัมผัส แอโร กลาส ส่วนติดต่อผู้ใช้ตัวใหม่ของวิสต้า ก็คงต้องยอมเสียตังค์ยกเครื่องกันใหม่ซะแล้ว